วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การสร้างการ์ตูน Animation


การสร้างร์ตู Animation  ^_____^

ขั้นตอนการสร้าง การ์ตูนเคลื่อนใหว(อนิเมชั่น)
บทความประมาณนี้ผมเองก็ได้เขียนไปหลายๆเวปบอร์ดเหมือนกัน แต่ทุกครั้งที่เขียนข้อมูลก็จะแน่นขึ้นเรื่อยๆเพราะงั้นครั้งนี้อาจจะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่เขียน แต่ก็ดีกว่าที่เขียนก่อนหน้า. ทั้งนี้ขั้นตอนหลักๆทั้งหมดก็ใกล้เคียงกัน
อนิเมชั่นคือการนำถาพมาซ้อนกันให้เกินการเคลื่อนใหวขึ้น ส่วนกี่ภาพต่อ 1 วินาทีก็แล้วแต่สตูดิโอกำหนด. หลายๆคนชอบคิดว่าคนที่วาดการ์ตูนได้ก็น่าจะวาดภาพเคลื่อนใหวได้สิ อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิด คนที่วาดการ์ตูนไม่จำเป็นต้องวาดภาพเคลื่อนใหวได้ และในทางกลับกัน คนวาด ภาพเคลื่อนใหวก็ไม่จำเป็นต้องวาดการ์ตูนได้เช่นกัน, อยากให้เข้าใจกันใหม่ เหตุผลที่ทำให้เข้าใจผิดเพราะพื้นฐานนั้นเหมือนกัน คือการวาด.
ก่อนที่เราจะมาเริ่มการสร้าง อนิเมชั่น นั้น เราต้องมีการวางแผนก่อน ไม่ว่า เนื้อเรื่อง, เสียง, อุปกร์ณการวาด, โปรแกรม ที่ใช้งานในการตัดต่อ. ทำไมต้องวางแผน ต้องเตรียมการ? หากมีการเตรียมการ จะเป็นการสะดวกทำให้เรารู้ว่าจะทำอะไรต่อเป็นขั้นๆไป
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหนังหรืออนิเมชั่น ต้องรู้ไว้ก่อนเลยว่า ไม่สามารถทำเสร็จในขั้นตอนเดียว โปรแกรมเดียว ต้องมีการนำมาผสมผสานกันด้วย.
1. IDEA - ความคิด แนวคิด
ขั้นตอนแรกในการทำเลยคือ คิด คิดว่าจะทำเรื่องอะไร ทำยังไง จบยังไง น่าสนใจยังไง ขนาดที่จะทำ ขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องสนใจเทคนิกในการสร้าง เพียงแค่ระดมความคิดต่างๆเอามารวมกัน แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องเขียนทุกอย่าง เขียนแค่ตัว หลักๆ ใว้

2.1 STORY -
เนื้อเรื่องหลังจากได้แนวความคิดตอนนี้ก็มาเขียนเนื้อเรื่อง โดยเอาแนวคิดหลักๆมาขยายความ ในการเขียนเนื้อเรื่องตอนนี้ก็เหมือนกับเขียนนิยาย คิอไม่ใช่มีแต่เนื้อเรื่อง ต้องมีบทพูดด้วยเช่นกัน ไล่เป็นฉากๆ บทๆ ไป ขั้นตอนนี้ เอกสารจะเป็น แค่ ตัวอัก`ษรเท่านั้น. เพิ่มเติม บ.อนิเมชั่นที่ญี่ปุ่น การนำการ์ตูนเอามาทำอนิเมชั่นเค้าก็เขียนบทขึ้นมาใหม่อีกรอบโดยมี เนื้อเรื่องในการ์ตูนเป็นพื้นฐาน. พอได้เนื้อเรื่องก็จะนำเอามาให้ทีมงานอ่านกันเพื่อแก้ไข ไม่ว่าจะเป็น คำพูด เนื้อเรื่อง ว่าเหมาะสมกับกลุ่มมั้ย ไม่ใช่สักแต่ว่าเขียนไป.
2.2 STORY BOARD - สตอรี่บอร์ด

นำเนื้อเรื่องที่ทำการเรียบเรียง มาให้ทีมงานอ่านกัน เพื่อเอาไปเขียนสตอรี่บอร์ด, คนที่เขียนสตอรี่บอร์ดไม่จำเป็นต้องมีแค่คนเดียว แบ่งงานเป็น ฉากๆไป. ขั้นตอนนี้นั้น คือการนำเอาเนื้อเรื่องมาวาดเป็นภาพ มาเรียงต่อกันเป็นฉากๆ แล้วเอามาแปะใว้บนที่บอร์ด(ถึงเรียกว่า สตอรี่บอร์ด). แล้วเอามาเขียนมาแก้กันเพิ่มมุมมองฉากใหน แก้มุมใหน ขั้นตอนนี้จะสำคัญเพราะมีผลสืบเนื่องถึงขั้นตอน วาด อนิเมชั่น ถ้าทำไม่ดี จะเป็นปัญหาอย่างมาก.
3 AUDIO and SOUND - เสียง
เมื่อเอาสตอรี่บอร์ดมาเรียงกันเป็นหนังอย่างหยาบๆ (หรือที่คนเรียกกันอย่างหรูว่า อนิเม-ทริก ความละเอียดตรงนี้ขึ้นอยู่กับตอนวาดสตอรี่บอร์ดว่าละเอียดขนาดใหน)แล้วเอามาอัดเสียง ไม่ว่าจะเสียงพาค์ย เสียงเอฟเฟค เสียงฉากหลัง ทำให้หมด. มันจะเป็นการง่ายมาก หากเราทำเสียงแล้ว มาวาดให้ตรงกับเสียง มากกว่า ทำเสียงให้ตรงกับภาพ.




4. ANIMATE - วาดรูปเคลื่อนใหวเมื่อได้เสียงเราก็นำเสียงมาดูความยาว ตามช่วงเวลา เพื่อนำมาวาด. ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความ อดทน กับ ความมุ่งมั่น ในการทำเพราะเรื่องที่มีความยาว ครึ่งชั่วโมง ก็ต้องวาด 3000 รูปโดยประมาณ. ทั้งนี้ในการวาดในขั้นนี้ ต้องอาศัยการศึกษาและเทคนิกต่างๆ ไม่ว่าจะตัดเส้น ลงสี หรือ การเคลื่อใหวของสถานที่และตัวละคร.

5. EDIT -
แก้ไขหลังจากวาดอนิเมชั่นแล้ว ตัวหนังยังแยกกันเป็นส่วนๆ ในขั้นตอนนี้จะนำมาต่อรวมกัน เพื่อเป็นหนังใหญ่. แล้วต้องนำมาดูกันเพื่อ พิจารณาว่า ทั้งเนื้อเรื่องดูลงตัวมั้ย ต้อง ตัดฉากใหนออก. ในขั้นตอนนี้มีหนังอนิเมชั่นไม่น้อย ที่ต้องตัดออกไป 3-4 ฉาก เพื่อความลงตัว ให้เหมาะสม.
6. FINAL OUTPUT - การผลิดขั้นสุดท้าย
เมื่อ หนัง ทั้งเรื่อง เสร็จเป็นอันที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็สู่การนำไปแสดงหรือเผยแพร่. ตรงนี้ขึ้นอยู่กับผู้จัดทำว่าจะเอาไปทำอะไร(ที่คิดใว้ในขั้นตอนที่ 1 แนวคิด) ส่วนมากคือการนำงานไปเสนอตาม บ. ต่างๆเพื่อ นำไป เผยแพร่ หรือ นำไปผลิต ก็ตามแต่ นโยบายของผู้จัดทำ.

เพิ่มเติม
ความละอียด และ ขนาด นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพราะการนำไปใช้เพื่อทำอะไรนั้น ขนาดจะไม่เท่ากัน อย่าง ฉายในจอเงิน จอแก้ว ในเวป หรือ แม้แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์.
ขั้นตอนทั้งหมดนี้อาจจะไม่สำคัญถึงขนาดคอขาดบาดตาย แต่ว่า ขั้นตอนทั้งหมดนั้นจะช่วยในการ ทำงานให้เร็วขึ้นเป็นอย่างมาก ขนาดที่ว่า เกือบครึ่งนึงของเวลาทั้งหมด เลยทีเดีย


ตัวอย่างการ์ตูน Animation
ขอบคุณ   http://www.keereerat.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น